วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผอ.เทวรัฐ มอบแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนขนาดเล็ก

นายเทวรัฐ โตไทยยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 2 ได้เป็นประธานและบรรยายพิเศษในการประชุมสัมมนาชมรมโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อวันที่ 26 สิงคม 2551 ณ โรงเรียนบ้านสรางขุ่ย อำเภอพังโคน จังหวัดสกลรนคร จัดโดยขมรมผู้บริหารโงเรียนขนาดเล็ก โดยการนำของนายจำลอง รัตนโกเศศ ประธานชมรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน และการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชมรมชุดใหม่ในปีบรืหาร 2551-2552 มีผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กของ สพท.สน 2 เข้าร่วมจำนวน 99 โรงเรียน และผู้บริหารศูนย์เครือข่าบที่ 7 และ 8 ร่วมประฃุมด้วย

นายเทวรัฐ โตไทยะ กล่าวถึงว่า
ปัญหาในการบริหารจัดการศึกษาโรงรียนโดยทั่วไป ได้แก่
1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ มี 2 ด้าน คือ (1) ด้านประสิทธิภาพ ที่ดูจากปัจจัยหลัก 3 ด้าน คือ ด้านเวลา ด้านการคุ้มค่าคุ้มทุน และด้านความพึงพอใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ (2) ด้านประสิทธิผล ดูจากการบรรลุป้าหมายและวัตถุประสงค์
2) ด้านการจัดการเรียนการสอน
3) การมีส่วนร่วมการดำเนินงาน

แนวทางในการดำเนินงาน คือ
1) การยุบ หรือยุบรวม เพื่อความคุ้มค่า ซึ่งอาจจะต้องดำเนินการจามความจำเป็นต่อไป
2) การพัฒนา โดยใช้ยุทศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2551- 2553 ที่ได้ร่วมกันจัดทำไว้ ซึ่งสอดรับกับยุทธ์ศาสตร์ สพฐ. 5 ด้าน คือ
กลยุทธ์ที่ 1 คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
กลยุทธ์ที่ 2 การขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นฐานอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
กลยุทธ์ที่ 4 การกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่และสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

3) แนวทางดำเนินงานของโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่
(1) ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดเขตบริการ การรวมกลุ่มเครือข่าย (Mapping) มีระบบข้อมูลสารสนเทศครูและผู้บริหาร เพื่อช่วยเหลือกัน พัฒนาระบบบริหารจัดการให้เหมาะกับธรรมชาติของแต่ละโรงเรียน ด้วยคำถามว่า
Where are we ?
Who is the best?
How did they do?
What can we do?

(2) การพัฒนาการเรียนการสอน ยึดหลักสูตรสถานศึกษา โดยระดับประถมศึกษาขอให้เน้นคุณภาพการเรียน 5 สาระหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ
(3) การพัฒนาความเข้มแข็ง ในฐานะเป็นสถานศึกษานิติบุคคล ต้องสร้างความรู้ความสามารถของครู ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ความมีศักยภาพและภาวะผู้นำของผู้บริหาร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(5) กามีส่วนรวมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ภาพ ผตร. ตรวจเยี่ยม


นางสาวอรวรรณ สุนทรชัย ผตร.ศธ.ให้เกี่ยรติเยี่ยมชมนิทรรศการ กืจกรรมโรงเรียนขนาดเล็กเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ณ สพท.สน.2

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การจัดการสอนแบบคละชั้น (Multigrade Teaching)

สพท,สน, ๒ จัดประชุมปฎิบัติการเพื่อจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สำหรับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบชั้นทั้งหมด จำนวน ๔๔ โรงเรียน และผู้บริหารและครูโรงเรียนต้นแบบ สพฐ. ทั้งหมด จำนวน ๔ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนดงม่วงไข่ โรงเรียนบ้านนาเลา โรงเรียนบ้านสร้างขุ่ย และโรงเรียนบ้านโคกหนองกุง ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ณ ห้องอี-คลาสรูม โรงเรียนสว่างแดนดิน
ในการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒๕๕๑ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑ เป็นต้นไป โดยใช้ดการเรียนรู้ของสำนังกานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีคุณสุดารัตน์ ศรีสำราญ เป็นคณะทำงานด้วย เป็นคู่มือในการสอน

การดำเนินการประชุม ดำเนินการโดย นางสาวสุดารัตน์ ศรีสำราญ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ นางสาวสมจิต นาสีแสน ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ และคณะผู้บริหารชมรมโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย นายจำลอง รัตนโกเศศ ผอ.โรงเรียนบ้านท่าลาด นายประสิทธิ์ จันทร์ไทย ผอ.โรงเรียนบ้านโคกหนองกุง ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ ปานดำรง ผอ.โรงเรียนบ้านนาเลา นายศิวกานต์ ไตรยงค์ ผอ.โรงเรียนบ้านสร้างขุ่ย นางมะลิวัลย์ เขื่อนศิริ ผอ.โรงเรียนดงม่วงไข่

การดำเนินการดังกล่าว เป็นการจัดการเรียนรการสอนไปพร้อมกับโรงเรียนต้นแบบเพื่อขจัดความเสี่ยงในการจัดการเรียนการสอนที่อาจเกิดในการบริหารการศึกษาให่สามารถดำเนินการตามแนวทางเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานต่อไป

วิบูลย์

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

นางสาวอรวรรณ สุนทรชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการ ๑๑ และ ๑๓
กำหนดเดินทางมาตรวจราชการ ในวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๑.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๒ โดยมีเป้าหมายการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑ งวดที่ ๒ ติดตามความก้าวหน้า (Progress Review) ดังนี้
๑. โครงการคุณธรรมนำความรู้
๒. โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก

ขอเรียนเชิญ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กเข้าร่วมรับและเสนอข้อมูลการดำเนินงาน ดังนี้
๑. ชมรมผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านประธานจำลอง รัตนโกเศศ ท่านประสิทธิ์ จันทร์ไทยเลขานุการ และกรรมการท่านอื่นที่สะดวก
๒. การนำเสนอผลงานของโรงเรียนเป้าหมาย คือ โรงเรียนบ้านนาเลา บ้านโคกหนองกุง บ้านดงม่วงไข บ้านสร้างขุ่ย แนวทางการนำเสนอคือ
๒.๑ แผนพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน
๒.๒ รูปแบบการจัดการเรียนรการสอนของโรงเรียน
๒.๓ การได้รับการสนับสนุนของโรงเรียน
๒.๔ ภาพและระดับความพึงพอใจของชุมชน
๒.๕ ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๐

โปรดพร้อมกันที่หมายเวลา ๐๘.๓๐ ด้วยจักขอบคุณยิ่ง

วิบูลย์

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การนำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพห้องเรียน (Quality Classroom)

นโยบาย สพฐ. (แก้ไขแล้ว)
การนำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพห้องเรียน (Quality Classroom)
1. วัตถุประสงค์

1.1 ครูสามารถพัฒนาตนเอง ด้านการออกแบบ และจัดการการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ครูสามารถนำการเปลี่ยนแปลงได้
2. เป้าหมาย
2.1 ครูทุกคนได้รับการพัฒนาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.2 ครูมีแผนพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างน้อยกลุ่มสาระละ 1 ชิ้นงาน ในระยะเวลา 1 ภาคเรียน ปีการศึกษา 2551
3. เนื้อหาสาระในการพัฒนาครู
3.1 การนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ
3.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
3.3 การวิจัยในชั้นเรียน (CAR)
3.4 การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน
3.5 การสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)

4. สาระการเรียนรู้
4.1 แนวคิดในการเปลี่ยนแปลง
4.2 การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
4.3 การจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ
4.4. ห้องเรียนที่มีคุณภาพ

5. KPI ห้องเรียนคุณภาพ
5.1 การนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ
5.1.1 ความรู้
5.1.1.1 แนวคิดในการเปลี่ยนแปลง
5.1.1.2 การจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง
5.1.1.3 การจัดห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพห้องเรียนคุณภาพ

5.1.2 ผลปฏิบัติงาน
5.1.2.1 แผนพัฒนาตนเอง
5.1.2.2 ผลงานเชิงสร้างสรรค์

5.1.3 ตัวชี้วัด
5.1.3.1 มีความตื่นตัวในทางสร้างสรรค์ ทุ่มเทกี่ทำงานอย่างสุดชีวิตจิตใจ
5.1.3.2 มีแผนการพัฒนาตนเอง ร่วมมือกันทำงาน และมีผลงานอย่างสร้างสรรค์


5.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
5.2.1 ความรู้
5.2.1.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
5.2.1.2 รูปแบบ Back ward Design

5.2.1.3 ผู้บริหารนิเทศ Coach การจัดกิจกรรมเรียนรู้
5.2.1.4 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5.2.1.5 รายงานผลการพัฒนาผู้เรียนด้วยระดับคุณภาพ

5.2.2 ผลปฏิบัติงาน
5.2.2.1 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5.2.2.2 รายงานผลการพัฒนาผู้เรียนด้วยระดับคุณภาพ

5.2.3 ตัวชี้วัด
5.2.3.1 นักเรียนมีผลงาน, ชิ้นงาน ที่สะท้อนคุณภาพการคิดระดับสูง

5.3 การวิจัยในชั้นเรียน (CAR)
5.3.1 ความรู้
5.3.1.1 การจัดทำ ID Plan
5.3.1.2 การวิจัยในชั้นเรียน

5.3.2 ผลปฏิบัติงาน
5.3.2.1 ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ของตนเอง
5.3.2.2 รายงานการพัฒนาตนเองและนักเรียน

5.3.3 ตัวชี้วัด
5.3.3.1 ใช้ CAR พัฒนาตนเองและนักเรียน
5.3.3.2 มีเพื่อนสะท้อนความคิด

5.4 การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน
5.4.1 ความรู้
5.4.1.1 การใช้ ICT เพื่อการพัฒนาการเรียน
5.4.2 ผลปฏิบัติงาน
5.4.2.1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้หรือทำสื่อ ICT
5.4.2.2 มี e-mail และเผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์
5.4.3 ตัวชี้วัด
5.4.3.1 มีแผนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีการใช้ ICT หรือการบูรณาการสาระวิชาต่าง ๆ อย่างหลากหลาย

5.5 การสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)
5.5.1 ความรู้
5.5.1.1 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนการสร้างวินัยเชิงบวก

5.5.2 ผลปฏิบัติงาน
5.5.2.1 จัดการพัฒนานักเรียนในชั้นอย่างเป็นระบบ

5.5.3 ตัวชี้วัด
5.5.3.1 ครูมีพฤติกรรมเชิงบวก จัดระบบการพัฒนานักเรียน อย่างเป็นระบบ เป็นองค์รวม ทั้งร่างกายสติปัญญา สังคม และอารมณ์

6. การประชุมปฏิบัติการวางแผน
6.1 เป้าหมายการพัฒนาครูในจังหวัด โดยพาทำ
6.2 ข้อเสนอแนะ, แนวคิดในการทำแผน
6.2.1 Base line ของแต่ละโรงเรียน
6.2.1.1 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
6.2.2.2 NT, PISSA, การประเมินผลของ สมศ.
6.2.2.3 ประเภทโรงเรียน
6.2.2.4 จำนวนนักเรียน, ครู


6.2.2 การวิเคราะห์บริบท และสภาพปัจจุบันของโรงเรียน
6.2.3 สาระเนื้อหาหลักสูตร หาแนวทางพัฒนาต่อยอด

6.3 การนำเสนอ (ในกิจกรรม) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้