วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โรงเรียนขนาดเล็กของนิวซีแลนด์ กรณีโรงเรียนโทเฮ

ระบบการบริหารจัดการศึกษาของประเทศนิวแลนด์ ดูแล้วมีความละม้ายกับระบบการจัดการศึกษาของเรามาก วิธีคิดและระบบการจัดการเรียนการสอน มีความน่าสนใจมาก

โรงเรียนโทเฮ (Tauhei) เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านมอรินส์วิลล์ (Morrinsville) ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 13 กม. และ 35 กม.ด้านตะวันออกของเมืองแฮมิลตัน (Hamilton) ประเทศนิวซีแลนด์

จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนเข้าใหม่จนถึงปีที่ 6 เป็นแบบคละชั้น (Combined School) มีนักเรียน 62 คน มีครูผู้สอน 4 คน ครูใหญ่ (Principal) 1 คน สอน ป.4 ด้วย และมีครูผู้ช่วย (Teacher Aide) ทำงานสอนซ่อมเสริม (Reading Recovery) ทำงานบางเวลา 2 คน งานห้องสมุด 1 คน สอนดนตรี และภารโรง 1 คน)

มีแหล่งเรียนรู้ที่จัดไว้ดีเยี่ยมไว้ 3 ห้องเรียน คือ
1) ห้องศิลปะ /เทคโนโลยี /สื่อสารสนเทศ
2) ห้องสมุด และ
3) ส่วนการบริหารจัดการ (administration block)

คณะกรรมการบริหารโรงเรียน (Board of Trustees) ประกอบด้วย
ครูใหญ่ 1 คน ตัวแทนครู 1 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 5 คน ผลัดเปลี่ยนกันทุก 3 ปี
• หน้าที่
– การดูแลการศึกษาทั้งหมดให้เป็นไปตามเป้าหมาย
– มีสิทธิ์ในการทำสัญญาจ้างผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้บริหารจะจ้างครูอีกทอดหนึ่ง

จุดเน้นหลักสูตร
• สร้างนิสัยรักการเรียนรู้ (Creating a love for Learning.)
• จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยใช้บริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเด็ก (Active Learning in meaningful contexts)
• สนับสนุนให้เด็กประสบความสำเร็จ (Setting children up for Success.)
• มีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างชั้นเรียน (Co-operative Learning between classes.)
• เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดและกระบวนการเรียนรู้ (Learning about thinking and the Learning Process.)
• มีทักษะพื้นฐาน หลักสูตรมีความสมดุล นักเรียนมีความเป็นเลิศ (Basics, Balance, Excellence.) (Creating a Put up Zone.)
• มีทัศนคติและค่านิยมด้านความภาคภูมิใจ นักเรียนกล้าคิดกล้าทำ มีความมานะอดทน (Attitudes and Values: Aroha, Mana, Pride, Risk-Taking, Perseverance)
• ให้คุณค่ากับค่านิยมและการปฏิบัติที่แสดงถึงความขยันขันแข็ง (Valuing intelligent behavior)
• มีการคิดไตร่ตรอง สามารถสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของตนได้ (Reflective thinking)

หลักสูตรโรงเรียน

• โรงเรียนจัดทำหลักสูตรตามความต้องหารความสามารถและหลักสูตรจะไม่คงที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

คำขวัญ “การเรียนรู้ร่วมกัน และมีน้ำใจใฝ่เรียนตลอดเวลา”

สาระการเรียนรู้ 8 สาระ
– คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (สอนทุกวัน ๆ 45 นาที)
– วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ เทคโนโลยี พลศึกษา และภาษาเมาลี

การจัดการเรียนการสอน
จัดการสอนแบบคละชั้น เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดเด็กเป็นกลุ่มตามความสามารถ ยึดหลักสำคัญดังนี้

1. ครูต้องวางแผนการสอน
2. ครูต้องจัดระดับความสามารถของนักเรียนเป็นกลุ่ม มีความสามารถใกล้เคียงกันอยู่ด้วยกัน
3. สอนเด็กทีละกลุ่ม ใช้เวลากลุ่มละ 10 นาที แล้วให้งานทำ
จากนั้นเวียนสอนเด็กลุ่มต่อไปเรื่อย ๆ จนครบชั่วโมง ขณะที่สอนกลุ่มอื่นอยู่นั้น กลุ่มที่เหลือจะทำงานเงียบ ๆ ไม่ส่งเสียงรบกวน หรือเดินตามครูไป จะทำงานไปจนกว่าครูจะเวียนกลับมาถึงกลุ่ม
4. แต่ละห้อง ครูจะแบ่งกลุ่มเด็ก กลุ่มละ 4-5 คน
5. ครูใช้การบริหารจัดการขั้นเรียนเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มขนาดเล็ก 2 คน มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกตลอดเวลา เด็กในกลุ่มจะเรียนตามความสามารถตน
6. เด็กมีปัญหาด้านการอ่าน โรงเรียนจะจัดเวลาสอนซ่อมเสริม เรียกว่า “Reading Recovery” ให้เด็กวันละ 30 นาที
6.1 เริ่มด้วยให้เด็กอ่านหนังสือเล่มเดิมที่เด็กเคยอ่านมาก่อน ถ้ายังอ่านไม่ออกให้สะกดคำ และหาวิธีโดยใช้สื่อรูปภาพช่วย จนเด็กอ่านออกด้วยตนเอง
เมื่ออ่านจบ ครูจะทดสอบด้วยการตั้งคำถาม ถ้าเด็กได้ตามเกณฑ์ คือ 97 % ก็จะเปลี่ยนหนังสือเล่มใหม่
6.2 การอ่านหนังสือเล่มใหม่ ครูจะแนะนำหนังสือให้เด็กรู้ก่อนว่าจะเรียนเรื่องอะไร สื่อการสอนจะใช้หลากหลาย และเทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน นักเรียนทุกคนได้จับต้องใช้สื่อด้วยตนเอง กิจกรรมที่ใช้สลับกับไปเรื่อย เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง (Brain-Based Learning)

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้อง ได้แก่
- สื่อ
- เทคโนโลยีช่วยครูผลิตสื่อ เช่น
คอมพิวเตอร์
เครื่องถ่ายเอกสาร
สี กระดาษ

การเตรียมการสอน
ครูจะใช้เวลาการเตรียมการสอนและผลิตสื่อหลังเลิกเรียน

งบประมาณ
รัฐบาล
การระดมทุนของคณะกรรรมการบริหาร
หนังสือเรียนหลัก รัฐบาลจัดให้

ข้อสังเกต

ใช้หลักสูตร ปี 2549 ชื่อ The Curriculum Draft for Consultantation 2006
สาระวิชา 8 สาขา คือ 1) คณิตศาสตร์ 2) เทคโนโลยี 3) ศิลปะ 4) สุขศึกษาและพลศึกษา 5) ภาษาอังกฤษ 6) วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ – สถิติ และ 6) ภาษา (Learning Language)
แต่ละสาขา กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ไว้ 8 ระดับ และกำหนดสมรรถนะหลักของผู้เรียน (Key Competency) ไว้ 5 ประการ ได้แก่

1) การจัดการตนเอง
2) การมีมนุษยสัมพันธ์
3) การมีส่วนร่วมและหารให้การสนับสนุน
4) การคิด
5) สมรรถนะด้านภาษา คณิตศาสตร์ สัญลักษณ์แลความรู้ตามหลักสูตร

กระบวนการจัดการเรียนการสอน

1. จำนวนห้องเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียน ครู 1 คนสอนเด็ก 25 คน แต่โรงเรียนขนาดเล็กจะหลากหลายเรียนร่วมกัน (Multigrade)
2. การจัดการเรียนรู้ ทุกโรงเรียนจะเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูไม่ใช้วิธีการสอนทั้งห้องพร้อมกัน แต่จะจัดกลุ่มตามความสามารถ แบ่งกลุ่มย่อย จับคู่ หรือเรียนด้วยตนเอง
3. ครูสอนเนื้อหาและกิจกรรมที่แตกต่างกัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่โตกว่าได้ช่วยเหลือนักเรียนที่เล็กว่า
4. จัดทำแผนการสอน มีการจัดทำแผนระยะยาว เป็นหน่วยบูรณาการอย่างน้อย 3 ปีตามช่วงชั้น และระยะสั้น 1 ปี 1 ภาคเรียนและรายวัน แผนที่ครูทำ เป็นแนวทาง (Guideline) เท่านั้น ครูไม่ต้องบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียด

ในการจัดกิจกรรม จะต้องคำนึงถึงความก้าวหน้าผู้เรียนเป็นหลัก และส่งเสริมพัฒนาการในการเรียนรู้ของผู้เรียน


วิธีการประเมินผลการเรียน
การประเมินนักเรียนชั้นปีที่ 1- 10 เป็นหน้าที่ของโรงเรียน ประกอบด้วย
1.การทดสอบมาตรฐาน
2.สังเกตพฤติกรรม
3.การบันทักผลการเรียน
4.การใช้แฟ้มสะสม (portfolio)
5.การร่วมกิจกรรมของนักเรียน
สำหรับชั้นที่ 11-12-13 เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ

หลักฐานการประเมิน มีดังนี้
1. ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียน (Work Samples)
2. แบบทดสอบมาตรฐาน
3. แบบประเมินผลนักเรียนทั้งโรงเรียน
4. การเอกชิ้นงานตัวอย่าง
5. การเทียบเคียงคุณภาพ
6. การประเมินแบบอิงเกณฑ์
7. การวิเคราะห์ศักยภาพนักเรียน
8. การประเมินระหว่างเรียน
9. การกำกับติดตาม
10. การประเมินโดยเพื่อน
11. การกำกับติดตาระดับชาติ
12. บันทึกพัฒนาการเรียนรู้

บทสรุปข้อคิดจากโรงเรียนโทเฮ

โรงเรียน โทเฮ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีการวางแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาที่สนใจ คือ
-ไม่มีข้อจำกัดอยู่ที่ขนาดคำว่า "เล็ก" และคำว่าเล็กแล้วต้องตามด้วยคำว่า "ด้อย" เมื่อมองที่อัตราส่วนของครูต่อนักเรียน
- การมี 8 สาระ เป็นเพียงกรอบแนวทาง แต่กระบวนการสอนแบบคละชั้น และบูรณาการเท่านั้นที่นำพาสู่เป้าหมาย โดยเน้นสอนวิชาหลัก คือภาษาตนเองคืออังกฤษ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้มีทักษะการอ่านและการคิดที่ดี แต่วิชาอื่นจะสอนบูรณาการทั้งหมด
-ใช้การบริหารจัดการแนวใหม่ วิธีคิดใหม่ (Paradigm) และการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อการจัดการศึกษา โดยเน้นเป้าหมายหลัก คือ...ผู้เรียน
-โรงเรียนเป็นเบ้าหล่อหลอมทางสังคม ที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ สนองอัตลักษณ์ของเด้กได้อย่างดีเยี่ยม
ดังนั้น ที่ใดก็มีโรงเรียนเล็ก สพท.สน.เรานับวันจะมีสมาชิกมากขึ้นนี้ ลองมาใชวิธีคิด หรือกระบวนทัศน์ (Paradigm) พลังความคิดจะแสดงออกมาให้เห็นปัญญา (Wisdom) ที่จะผ่ามิติที่เป็นเสมือนหมอกปิดบังตา เพื่อการพัฒนาการจัดศึกษาสู่เป้าหมายหลัก คือ ...ผู้เรียนมีคุณภาพ

อนึ่ง...โรงเรียนมีเว็บไซต์ให้ได้เข้าไปเยี่ยม(ข้างล่าง) และมีเนื้อหาบางส่วนที่เสนอไว้นอกเหนือจากเอกสารอ่างอิง น่าสนใจทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม ห้องเรียนคุณภาพจากแนวคิดเชิงระบบการจัดการศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ ที่ http://wiboonman.blogspot.com/

อ้างอิง
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้. การศึกษานิวซีแลนด์ : แนวคิดเชิงระบบ. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด. 2551
และ เว็บไซต์ http://www.tauhei.schoolzone.net.nz/