วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษากับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)

คณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 มีมติเห็นชอบ "ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)" ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ

หลักการและกรอบแนวคิด
เน้นการปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้ และข้อเสนอกลไกที่จะก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบ และพิจารณาระบบการศึกษาและเรียนรู้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบอื่น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง เกษตรกรรม สาธารณสุขและการจ้างงาน เป็นต้น

วิสัยทัศน์
คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

เป้าหมายปี 2561
ภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีระบบ โดยเน้นหลัก 3 ประการ อ
1) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย
2) เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

กรอบแนวทางการปฏิรูป
ปฏิรู้การศึกษาและเรียนรู้อย่างมีระบบ (4 ใหม่)
1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

บทบาทสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทศวรรษการปฏิรูปรอบสอง
กลไกของการขับเคลื่อนให้เกิดผลตามแนวทางปฏิรูป ที่เป็นบทบาทของ สพฐ. และองค์กรที่เกี่ยวข้องคือ "ประกันการเรียนรู้และการรับรองมาตรฐานผู้เรียน"
1) ประเมินการใช้และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2) จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 18++ มาตรฐาน
3) พัฒนาบริหารจัดการของนักบริหารจัดการแบบมืออาชีพและครูมืออาชีพในสถานศึกษาทุกแหง

ExcelSmall/wiboon

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จากมหกรรมสร้างเสริมปัญญา สรรหาเด็กดีมีคุณภาพ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากโณงเรียนบ้านหนองแวง

กบคอนโด กับเจ้าของโครงงานจากโรงเรียนบ้านโพนสูง
กบ...กบคอนโด
แข่งขันวาดภาพสีน้ำ
หนังสือเล่มเล็ก










สวนถาดชนะเลิศจาก ร.ร.สว่างแดนดิน








ExcelSmall

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

แม่แบบการสอนแบบคละชั้น...ครูสุขทรัพย์ แก้วก่า

ครูสุขทรัพย์ แก้วก่า


ผู้รักษาการผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองทุ่ม อำเภอพรรณานิคมและผู้สอน ผู้ทุ่มเทพลังการคิด(ออกแบบ) และพลังการสอนแบบคละชั้นในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 2 ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนมีความก้าวหน้ามาก อ่านหนังสือที่ใช้เรียนภาคเรียนที่ 2 ได้อย่างคล่องแคล่ว มีการบูรณาการทักษะพื้นฐานการพิมพ์ และการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่วทุกคน
ยังพบว่า คุณครูสุขทรัพย์ ฯ มีองค์ความรู้และขุมความรู้หลายอย่างซ่อนอยู่
แต่
ครูได้เออร์รี่ไปแล้ว
ตามไปดูที่ยูทูบแทน

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

โรงเรียนจิ๋วผลิตภัณฑ์แจ๋ว ในงานมหกรรมสร้างเสริมปัญญา สรรหา เด็กดีมีคุณภาพ

ขยายอ่านแล้วได้ความรู้

ชมรมโรงเรียนขนาดเล็กจะจัดกิจกรรมสนับสนุบ
"งานมหกรรมสร้างเสริมปัญญา สรรหา เด็กดีมีคุณภาพ"
ของ สพท. สน. 2 วันที่ 12 - 14 ตุลาคม 2552 ณ โรงเรียนธรรมบวรวิทยา

โดยจัดนำผลผลิตของโรงเรียนขนาดเล็กภายใต้ชื่อ "โรงเรียนจิ๋วผลผลิตแจ๋ว" ออกแสดงและจำหน่ายเพื่อเป็นการเผยแพร่และเป็นการสร้างรายได้แก่นักเรียนและทุนดำเนินการชมรม

ขอให้โรงเรียนที่ประสงค์นำผลิตภัณฑ์ไปแสดงและจำหน่ายโปรดประสาน
1) ผอ.ทัศณรงค์ อัมราช ร.ร.บ้านเปือย
2) ผอ.ทัศ ไชยเชษฐ์ ผอ.ร.ร.บ้านภูเพ็ก

24 ชั่วโมง




วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โรงเรียนขนาดเล็กของนิวซีแลนด์ กรณีโรงเรียนโทเฮ

ระบบการบริหารจัดการศึกษาของประเทศนิวแลนด์ ดูแล้วมีความละม้ายกับระบบการจัดการศึกษาของเรามาก วิธีคิดและระบบการจัดการเรียนการสอน มีความน่าสนใจมาก

โรงเรียนโทเฮ (Tauhei) เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านมอรินส์วิลล์ (Morrinsville) ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 13 กม. และ 35 กม.ด้านตะวันออกของเมืองแฮมิลตัน (Hamilton) ประเทศนิวซีแลนด์

จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนเข้าใหม่จนถึงปีที่ 6 เป็นแบบคละชั้น (Combined School) มีนักเรียน 62 คน มีครูผู้สอน 4 คน ครูใหญ่ (Principal) 1 คน สอน ป.4 ด้วย และมีครูผู้ช่วย (Teacher Aide) ทำงานสอนซ่อมเสริม (Reading Recovery) ทำงานบางเวลา 2 คน งานห้องสมุด 1 คน สอนดนตรี และภารโรง 1 คน)

มีแหล่งเรียนรู้ที่จัดไว้ดีเยี่ยมไว้ 3 ห้องเรียน คือ
1) ห้องศิลปะ /เทคโนโลยี /สื่อสารสนเทศ
2) ห้องสมุด และ
3) ส่วนการบริหารจัดการ (administration block)

คณะกรรมการบริหารโรงเรียน (Board of Trustees) ประกอบด้วย
ครูใหญ่ 1 คน ตัวแทนครู 1 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 5 คน ผลัดเปลี่ยนกันทุก 3 ปี
• หน้าที่
– การดูแลการศึกษาทั้งหมดให้เป็นไปตามเป้าหมาย
– มีสิทธิ์ในการทำสัญญาจ้างผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้บริหารจะจ้างครูอีกทอดหนึ่ง

จุดเน้นหลักสูตร
• สร้างนิสัยรักการเรียนรู้ (Creating a love for Learning.)
• จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยใช้บริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเด็ก (Active Learning in meaningful contexts)
• สนับสนุนให้เด็กประสบความสำเร็จ (Setting children up for Success.)
• มีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างชั้นเรียน (Co-operative Learning between classes.)
• เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดและกระบวนการเรียนรู้ (Learning about thinking and the Learning Process.)
• มีทักษะพื้นฐาน หลักสูตรมีความสมดุล นักเรียนมีความเป็นเลิศ (Basics, Balance, Excellence.) (Creating a Put up Zone.)
• มีทัศนคติและค่านิยมด้านความภาคภูมิใจ นักเรียนกล้าคิดกล้าทำ มีความมานะอดทน (Attitudes and Values: Aroha, Mana, Pride, Risk-Taking, Perseverance)
• ให้คุณค่ากับค่านิยมและการปฏิบัติที่แสดงถึงความขยันขันแข็ง (Valuing intelligent behavior)
• มีการคิดไตร่ตรอง สามารถสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของตนได้ (Reflective thinking)

หลักสูตรโรงเรียน

• โรงเรียนจัดทำหลักสูตรตามความต้องหารความสามารถและหลักสูตรจะไม่คงที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

คำขวัญ “การเรียนรู้ร่วมกัน และมีน้ำใจใฝ่เรียนตลอดเวลา”

สาระการเรียนรู้ 8 สาระ
– คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (สอนทุกวัน ๆ 45 นาที)
– วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ เทคโนโลยี พลศึกษา และภาษาเมาลี

การจัดการเรียนการสอน
จัดการสอนแบบคละชั้น เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดเด็กเป็นกลุ่มตามความสามารถ ยึดหลักสำคัญดังนี้

1. ครูต้องวางแผนการสอน
2. ครูต้องจัดระดับความสามารถของนักเรียนเป็นกลุ่ม มีความสามารถใกล้เคียงกันอยู่ด้วยกัน
3. สอนเด็กทีละกลุ่ม ใช้เวลากลุ่มละ 10 นาที แล้วให้งานทำ
จากนั้นเวียนสอนเด็กลุ่มต่อไปเรื่อย ๆ จนครบชั่วโมง ขณะที่สอนกลุ่มอื่นอยู่นั้น กลุ่มที่เหลือจะทำงานเงียบ ๆ ไม่ส่งเสียงรบกวน หรือเดินตามครูไป จะทำงานไปจนกว่าครูจะเวียนกลับมาถึงกลุ่ม
4. แต่ละห้อง ครูจะแบ่งกลุ่มเด็ก กลุ่มละ 4-5 คน
5. ครูใช้การบริหารจัดการขั้นเรียนเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มขนาดเล็ก 2 คน มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกตลอดเวลา เด็กในกลุ่มจะเรียนตามความสามารถตน
6. เด็กมีปัญหาด้านการอ่าน โรงเรียนจะจัดเวลาสอนซ่อมเสริม เรียกว่า “Reading Recovery” ให้เด็กวันละ 30 นาที
6.1 เริ่มด้วยให้เด็กอ่านหนังสือเล่มเดิมที่เด็กเคยอ่านมาก่อน ถ้ายังอ่านไม่ออกให้สะกดคำ และหาวิธีโดยใช้สื่อรูปภาพช่วย จนเด็กอ่านออกด้วยตนเอง
เมื่ออ่านจบ ครูจะทดสอบด้วยการตั้งคำถาม ถ้าเด็กได้ตามเกณฑ์ คือ 97 % ก็จะเปลี่ยนหนังสือเล่มใหม่
6.2 การอ่านหนังสือเล่มใหม่ ครูจะแนะนำหนังสือให้เด็กรู้ก่อนว่าจะเรียนเรื่องอะไร สื่อการสอนจะใช้หลากหลาย และเทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน นักเรียนทุกคนได้จับต้องใช้สื่อด้วยตนเอง กิจกรรมที่ใช้สลับกับไปเรื่อย เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง (Brain-Based Learning)

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้อง ได้แก่
- สื่อ
- เทคโนโลยีช่วยครูผลิตสื่อ เช่น
คอมพิวเตอร์
เครื่องถ่ายเอกสาร
สี กระดาษ

การเตรียมการสอน
ครูจะใช้เวลาการเตรียมการสอนและผลิตสื่อหลังเลิกเรียน

งบประมาณ
รัฐบาล
การระดมทุนของคณะกรรรมการบริหาร
หนังสือเรียนหลัก รัฐบาลจัดให้

ข้อสังเกต

ใช้หลักสูตร ปี 2549 ชื่อ The Curriculum Draft for Consultantation 2006
สาระวิชา 8 สาขา คือ 1) คณิตศาสตร์ 2) เทคโนโลยี 3) ศิลปะ 4) สุขศึกษาและพลศึกษา 5) ภาษาอังกฤษ 6) วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ – สถิติ และ 6) ภาษา (Learning Language)
แต่ละสาขา กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ไว้ 8 ระดับ และกำหนดสมรรถนะหลักของผู้เรียน (Key Competency) ไว้ 5 ประการ ได้แก่

1) การจัดการตนเอง
2) การมีมนุษยสัมพันธ์
3) การมีส่วนร่วมและหารให้การสนับสนุน
4) การคิด
5) สมรรถนะด้านภาษา คณิตศาสตร์ สัญลักษณ์แลความรู้ตามหลักสูตร

กระบวนการจัดการเรียนการสอน

1. จำนวนห้องเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียน ครู 1 คนสอนเด็ก 25 คน แต่โรงเรียนขนาดเล็กจะหลากหลายเรียนร่วมกัน (Multigrade)
2. การจัดการเรียนรู้ ทุกโรงเรียนจะเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูไม่ใช้วิธีการสอนทั้งห้องพร้อมกัน แต่จะจัดกลุ่มตามความสามารถ แบ่งกลุ่มย่อย จับคู่ หรือเรียนด้วยตนเอง
3. ครูสอนเนื้อหาและกิจกรรมที่แตกต่างกัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่โตกว่าได้ช่วยเหลือนักเรียนที่เล็กว่า
4. จัดทำแผนการสอน มีการจัดทำแผนระยะยาว เป็นหน่วยบูรณาการอย่างน้อย 3 ปีตามช่วงชั้น และระยะสั้น 1 ปี 1 ภาคเรียนและรายวัน แผนที่ครูทำ เป็นแนวทาง (Guideline) เท่านั้น ครูไม่ต้องบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียด

ในการจัดกิจกรรม จะต้องคำนึงถึงความก้าวหน้าผู้เรียนเป็นหลัก และส่งเสริมพัฒนาการในการเรียนรู้ของผู้เรียน


วิธีการประเมินผลการเรียน
การประเมินนักเรียนชั้นปีที่ 1- 10 เป็นหน้าที่ของโรงเรียน ประกอบด้วย
1.การทดสอบมาตรฐาน
2.สังเกตพฤติกรรม
3.การบันทักผลการเรียน
4.การใช้แฟ้มสะสม (portfolio)
5.การร่วมกิจกรรมของนักเรียน
สำหรับชั้นที่ 11-12-13 เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ

หลักฐานการประเมิน มีดังนี้
1. ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียน (Work Samples)
2. แบบทดสอบมาตรฐาน
3. แบบประเมินผลนักเรียนทั้งโรงเรียน
4. การเอกชิ้นงานตัวอย่าง
5. การเทียบเคียงคุณภาพ
6. การประเมินแบบอิงเกณฑ์
7. การวิเคราะห์ศักยภาพนักเรียน
8. การประเมินระหว่างเรียน
9. การกำกับติดตาม
10. การประเมินโดยเพื่อน
11. การกำกับติดตาระดับชาติ
12. บันทึกพัฒนาการเรียนรู้

บทสรุปข้อคิดจากโรงเรียนโทเฮ

โรงเรียน โทเฮ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีการวางแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาที่สนใจ คือ
-ไม่มีข้อจำกัดอยู่ที่ขนาดคำว่า "เล็ก" และคำว่าเล็กแล้วต้องตามด้วยคำว่า "ด้อย" เมื่อมองที่อัตราส่วนของครูต่อนักเรียน
- การมี 8 สาระ เป็นเพียงกรอบแนวทาง แต่กระบวนการสอนแบบคละชั้น และบูรณาการเท่านั้นที่นำพาสู่เป้าหมาย โดยเน้นสอนวิชาหลัก คือภาษาตนเองคืออังกฤษ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้มีทักษะการอ่านและการคิดที่ดี แต่วิชาอื่นจะสอนบูรณาการทั้งหมด
-ใช้การบริหารจัดการแนวใหม่ วิธีคิดใหม่ (Paradigm) และการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อการจัดการศึกษา โดยเน้นเป้าหมายหลัก คือ...ผู้เรียน
-โรงเรียนเป็นเบ้าหล่อหลอมทางสังคม ที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ สนองอัตลักษณ์ของเด้กได้อย่างดีเยี่ยม
ดังนั้น ที่ใดก็มีโรงเรียนเล็ก สพท.สน.เรานับวันจะมีสมาชิกมากขึ้นนี้ ลองมาใชวิธีคิด หรือกระบวนทัศน์ (Paradigm) พลังความคิดจะแสดงออกมาให้เห็นปัญญา (Wisdom) ที่จะผ่ามิติที่เป็นเสมือนหมอกปิดบังตา เพื่อการพัฒนาการจัดศึกษาสู่เป้าหมายหลัก คือ ...ผู้เรียนมีคุณภาพ

อนึ่ง...โรงเรียนมีเว็บไซต์ให้ได้เข้าไปเยี่ยม(ข้างล่าง) และมีเนื้อหาบางส่วนที่เสนอไว้นอกเหนือจากเอกสารอ่างอิง น่าสนใจทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม ห้องเรียนคุณภาพจากแนวคิดเชิงระบบการจัดการศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ ที่ http://wiboonman.blogspot.com/

อ้างอิง
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้. การศึกษานิวซีแลนด์ : แนวคิดเชิงระบบ. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด. 2551
และ เว็บไซต์ http://www.tauhei.schoolzone.net.nz/

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552

ผลงานบะทองนาหัวช้าง


ผอ.นภาพร กิณเรศ
ผู้นำเสนอ
ผลงานยอดเยี่ยม ระดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้


เป็น
จักรยานสามล้อจากวัสดุเหลือใช้



วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เศรษฐกิจพอเพียง กรณีโรงเรียนบ้านนาเลากับความริเริ่มเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน



วันที่ 29 มกราคม 52 ได้เยี่ยมและพบความริเริ่มของ ผอ.ณรงค์ ปานดำรง คือการใช้สถานศึกษาเป็นศูน์การเรียนรู้ท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่

1) การปลูกแก้วมังกรสาธิต
2) การใช้เกษตรอินทรีย์ด้วยภูมิปัญญาและบุคลากรท้องถิ่น ในการทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยอินทรีย์จากน้ำหมักชีวภาพ

3) การปลูกพืขไร้สารด้วยแปลงผักกางมุ้ง ที่ได้รับการจัดสรรทุนจาก อบต. ในการซ้อวัสดุมาทำเอง ได้ต้นทุนที่ถูกและยังมีงบประมาณเหลือไว้ทำอย่างอื่นได้อีก


น่าสนใจ เลยเก็บภาพมาฝาก


โรงเรือนผักกางมุ้ง


ผักปลอดสารพิษ...น่ากิน ...





แม่ครู...ชาวบ้าน




ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ


ความรู้ดีมาก


ขย้น เต็มแรง


เต็มใจ
หมักปุ๋ย...เป็น...ปุ๋ยหมัก (ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นทุนถูกมาก)




เด็กอิ่ม...ท้องทุกคน

ขอชื่นชมความคิดริเริ่ม
เป็นแบบอย่างของการทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้แก่ชุมชน

วิบูลย์ แมนสถิตย์
รอง ผอ.สพท.สน.2

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

แผนยุทธศ่าสตร์โรงเรียนขนาดเล็ก 2551-2553 ของกระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.)

แผนยุทธศาสตร์โรงเรียนขนาดเล็ก (ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๓) กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีเป้าหมาย ดังนี้

ระยะที่ ๑ (ตุลาคม ๒๕๕๐-กันยายน ๒๕๕๑)
จะพัฒนาระบบวางแผน ระบบการเรียนการสอน และทำความตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ระเบียบและแนวทางปฏิบัติ โดยจะนำร่องตามรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพใน ๑๗๕ สพท.(ยกเว้น กทม.) จำนวน ๘๐๐ โรง (สพท.ละ ๑-๓ แห่ง)

ระยะที่ ๒ (ตุลาคม ๒๕๕๑-กันยายน ๒๕๕๒)
จะนำร่องตามรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพใน ๑๗๕ สพท.(ยกเว้น กทม.) จำนวน ๑,๗๕๐ โรง (สพท.ละ ๑๐ โรง)

ระยะที่ ๓ (ตุลาคม ๒๕๕๒-กันยายน ๒๕๕๓)
จะขยายผลไปยัง ๑๗๕ สพท. ๆ ละ ๑ อำเภอ คาดว่าจะมีโรงเรียนขนาดเล็กเข้าร่วมโครงการ ๔,๐๐๐ โรง จากนั้นจะประมวลผลการดำเนินงาน เพื่อปรับยุทธศาสตร์และเสนอแผนดำเนินการสำหรับโรงเรียนที่เหลือเพื่อเสนอรัฐบาลต่อไป


ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กจะประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการ
ประกอบด้วยการพัฒนาระบบวางแผนการจัดตั้งและพัฒนาโรงเรียนในแต่ละ สพท. การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบบริหารจัดการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาระบบการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพ
ประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนการผลิตและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนการนิเทศ ติดตาม กำกับ และการวิจัยและพัฒนาสื่อ รองเลขาธิการ กพฐ. รับผิดชอบ

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสริมสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน
ประกอบด้วยการจัดทำมาตรฐานโรงเรียนขนาดเล็ก การปรับปรุงและพัฒนาสถานที่เรียน สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดอัตรากำลังครู การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
ประกอบด้วย การพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การสร้างและพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองให้เข้มแข็ง การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม การเตรียมความพร้อมในการมีส่วนร่วมการจัดให้มีระบบและกลไกในการระดมทรัพยากร และการวิจัยและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม

ยุทธศาสตร์โรงเรียนขนาดเล็ก ตามมคิ ครม.

เรื่อง แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก
วันที่มีมติ 27-11-2550
ชุดของครม. ชุดของคณะรัฐมนตรี
เนื้อหา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการมีโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32,288 โรง ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมา) ถึง 12,828 โรง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 39.73 ของโรงเรียนทั้งหมด
โรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าวส่วนใหญ่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกันใน 4 ด้าน คือ
ด้านการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอน
ด้านความพร้อมทางปัจจัยของโรงเรียน และ
ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

กระทรวงศึกษาธิการจึงได้พยายามแสวงหารูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกร่างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กเป็น 4 ยุทธศาสตร์ โดยมีเป้าประสงค์ที่จะวางแผนและบริหารจัดการเพื่อจำกัดจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กให้ดำรงอยู่เฉพาะที่มีความจำเป็นและพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ สิ่งที่คาดว่าจะได้รับก็คือ คุณภาพนักเรียนจะสูงขึ้นอันสืบเนื่องมาจากโรงเรียนมีความพร้อมด้านปัจจัย ผู้บริหารโรงเรียนและ ครูผู้สอนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนขนาดเล็กจะเหลืออยู่ในระบบด้วยจำนวนที่เหมาะสมตามความจำเป็น และดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษามากขึ้น

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

สวัสดีปีใหม่ 2552

สวัสดีปีใหม่ 2552
Happy New Year 2009
สุข สดชื่น สมหวังดั่งใจ
แม้มวลหมู่ภัย อย่าได้กล้ำกลาย
ร่ำรวยเงินทองมากมาย
ตั้งแต่ปลาย 2551 ถึง ตลอดปี 2552
เป็นของทุกท่าน..เทอญ