วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผอ.เทวรัฐ มอบแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนขนาดเล็ก

นายเทวรัฐ โตไทยยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 2 ได้เป็นประธานและบรรยายพิเศษในการประชุมสัมมนาชมรมโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อวันที่ 26 สิงคม 2551 ณ โรงเรียนบ้านสรางขุ่ย อำเภอพังโคน จังหวัดสกลรนคร จัดโดยขมรมผู้บริหารโงเรียนขนาดเล็ก โดยการนำของนายจำลอง รัตนโกเศศ ประธานชมรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน และการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชมรมชุดใหม่ในปีบรืหาร 2551-2552 มีผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กของ สพท.สน 2 เข้าร่วมจำนวน 99 โรงเรียน และผู้บริหารศูนย์เครือข่าบที่ 7 และ 8 ร่วมประฃุมด้วย

นายเทวรัฐ โตไทยะ กล่าวถึงว่า
ปัญหาในการบริหารจัดการศึกษาโรงรียนโดยทั่วไป ได้แก่
1) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ มี 2 ด้าน คือ (1) ด้านประสิทธิภาพ ที่ดูจากปัจจัยหลัก 3 ด้าน คือ ด้านเวลา ด้านการคุ้มค่าคุ้มทุน และด้านความพึงพอใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ (2) ด้านประสิทธิผล ดูจากการบรรลุป้าหมายและวัตถุประสงค์
2) ด้านการจัดการเรียนการสอน
3) การมีส่วนร่วมการดำเนินงาน

แนวทางในการดำเนินงาน คือ
1) การยุบ หรือยุบรวม เพื่อความคุ้มค่า ซึ่งอาจจะต้องดำเนินการจามความจำเป็นต่อไป
2) การพัฒนา โดยใช้ยุทศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2551- 2553 ที่ได้ร่วมกันจัดทำไว้ ซึ่งสอดรับกับยุทธ์ศาสตร์ สพฐ. 5 ด้าน คือ
กลยุทธ์ที่ 1 คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
กลยุทธ์ที่ 2 การขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นฐานอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
กลยุทธ์ที่ 4 การกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่และสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

3) แนวทางดำเนินงานของโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่
(1) ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดเขตบริการ การรวมกลุ่มเครือข่าย (Mapping) มีระบบข้อมูลสารสนเทศครูและผู้บริหาร เพื่อช่วยเหลือกัน พัฒนาระบบบริหารจัดการให้เหมาะกับธรรมชาติของแต่ละโรงเรียน ด้วยคำถามว่า
Where are we ?
Who is the best?
How did they do?
What can we do?

(2) การพัฒนาการเรียนการสอน ยึดหลักสูตรสถานศึกษา โดยระดับประถมศึกษาขอให้เน้นคุณภาพการเรียน 5 สาระหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ
(3) การพัฒนาความเข้มแข็ง ในฐานะเป็นสถานศึกษานิติบุคคล ต้องสร้างความรู้ความสามารถของครู ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ความมีศักยภาพและภาวะผู้นำของผู้บริหาร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(5) กามีส่วนรวมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน